วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

ระบบ PLC


PLC  คือ
เป็นเครื่องควบคุมอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถจะใช้โปรแกรมได้  ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนวงจรรีเลย์ อันเนื่องมาจากความต้องการที่อยากจะได้เครื่องควบคุมที่มีราคาถูกสามารถใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์ และสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ง่าย 
ความสามารถของ  PLC Programmable Logic Control
สามารถควบคุมได้ 2 ประเภท คือ  แบบ CLOSED LOOP  และ OPEN  LOOP
- ระบบการควบคุม  CLOSED LOOP
เป็นระบบควบคุมแบบหนึ่ง ซึ่งสัญญาณทางด้านเอ้าท์พุทมีผลโดยต้องการควบคุม ดังนั้นการควบคุมแบบ CLOSED LOOP ก็คือการควบคุมแบบป้อนกลับ (FEEDBACK CONTROL)  สัญญาณป้อนกลับนี้อาจจะเป็นสัญญาณเอ้าท์พุทโดยตรงหรือสัญญาณที่เป็นฟังก์ชั่นของสัญญาณเอ้าท์
พุทหรือค่าอนุพันธ์ของสัญญาณเอ้าท์พุทก็ได้


ระบบการควบคุมแบบ CLOSED LOOP นั้นสามารถพบเห็นได้ทั่วไปทั้งในงานอุสาหกรรมหรือตามบ้านเรือน ตัวอย่างการควบคุมแบบ CLOSE LOOP ได้แก่ การควบคุมอุณหภูมิ การควบคุมแรงดัน การควบคุมอัตราการไหล ระบบการควบคุมกระบวนการตู้เย็นที่ใช้ตามบ้านเรือน
- ระบบการควบคุมแบบ OPEN LOOP
สำหรับระบบการควบคุมแบบ OPEN LOOP เป็นระบบควบคุม ที่เอ้าท์พุทของระบบจะไม่มีผลต่อการควบคุมเลย นั้นคือในกรณีของระบบการควบคุมแบบ OPEN LOOP ซึ่งเอ้าท์พุทของระบบควบคุมของระบบจะไม่ถูกทำการวัดหรือป้อนกลับเพื่อที่จะนำมาเปรียบเทียบกับอินพุทการควบคุมการเปิดปิดไฟ สัญญาณไฟจราจรการควบคุมสายพานลำเลียง ฯลฯ
         สำหรับการควบคุมแบบ OPEN LOOP นั้นเอ้าท์พุทไม่ได้นำมาเปรียบเทียบกับอินพุท ดังนั้นความเที่ยงตรงของระบบจะขึ้นอยู่กับการปรับเทียบในทางปฏิบัติแล้วเราสามารถใช้การควบคุมแบบ OPEN LOOP ได้ถ้าเราทราบถึงความสัมพันธุ์ระหว่างอินพุทและเอ้าท์พุทระบบและระบบควบคุมที่ทำตามเวลาที่กำหนดไว้ จะเป็นการควบคุมแบบ OPEN LOOP
โครงสร้างพื้นฐาน PLC
ประกอบด้วยส่วนหลัก ดังนี้
      หน่วยอินพุท  (Input Unit) จะทำหน้าที่รับอุปกรณ์อินพุทเข้ามาและส่งสัญญาณต่อไปยังหน่วยประมวลผล (CPU) เพือนำไปประมวลผลต่อไปโดยสัญญาณที่รับเข้ามาจะเป็นในรูปแบบของสัญญาณ ON/OFF หรือสัญญาณ Analog
     หน่วยประมวลผล (CPU) จะทำหน้าที่ควบคุมและจัดการระบบการทำงานทั้งหมดภายในระบบ PLC เช่นการสั่งให้ระบบ PLC ทำงานตามคำสั่งที่ถูกโปรแกรรมไว้ในหน่วยความจำ CPU หน่วยความจำและภาคอินพุทและเอาท์พุทเป็นต้น
     หน่วยความจำ (Memory) จะทำหน้าที่เก็บรักษาโปรแกรรมและข้อมูลที่ใช้ในการทำงานโดยขนาดของหน่วยความจำถูกแบ่งออกเป็นบิดข้อมูล (Data bit) ภายในหน่วยความจำ1บิตก็จะมีค่าสภาวะทางลอจิก0หรือ1แตกต่างกันแล้วแต่คำสั่ง ซึ่ง PL C  ประกอบด้วยหน่วยความจำ 2 ชนิด ROM และ RAM
ROM ทำหน้าที่โปรแกรรมสำหรับใช้ในการปฏิบัติงานของ PLC ตามโปรแกรรมของผู้ใช้ หน่วยความจำ ROM ยังสามารถแบ่งได้เป็น EPROM ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์พิเศษในการเขียนและลบโปรแกรรม เหมาะสำหรับงานที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงโปรแกรรม
RAM ทำหน้าที่เก็บโปรแกรรมของผู้ใช้ และข้อมูลในการปฏิบัติงานของ PLC หน่วยความจำประเภทนี้จะต้องมีแบตเตอรี่เล็กๆ เพื่อใช้เป็นไฟเลี้ยงข้อมูลเมื่อเกิดไฟดับการอ่านและเขียนข้อมูลทำได้ง่ายมาก เพราะฉนั้นจึงเหมาะกับงานในระยะทดลองเครื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขอยู่บ่อยๆ
E PROM เป็นรูปแบบของหน่วยความจำที่ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถที่ดีขึ้น คือ สามารถเขียน และอ่านข้อมูลได้โดยใช้สัญญาณไฟฟ้าเท่านั้น ในขณะเดียวกันก็สามารถเก็บข้อมูลครั้งล่าสุดได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ไฟเลี้ยง จึงเหมาะสำหรับเป็นหน่วยความจำสำหรับเก็บโปรแกรรมการควบคุมของ PLC
     หน่วยเอาท์พุท  (Output Unit)  ทำหน้าที่รับข้อมูลจาก CPU และส่งสัญญาณไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่ต่อร่วมภายนอก อาทิ เช่น ควบคุมการทำงานของหลอดไฟ รีเลย์ คอนแทคเตอร์ โซลิตเสตทรีเลย์ มอเตอร์ และโซลินอยล์ เป็นต้น
แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) ทำหน้าที่จ่ายพลังงานและรักษาระดับแรงดันไฟตรงให้กับ CPU หน่วยความจำ และหน่วยอินพุท/เอาท์พุท

แบบแสดงการทำงาน  (Schematic diagram)
     แบบชนิดนี้แบ่งตามลักษณะตามแบบวงจรได้ 2 แบบวงจรด้วยกัน
แบบวงจรควบคุม















แบบวงจรควบคุม คือแบบที่ได้จับเอาวงจรจริงยืดออกเป็นเส้นตรง สายแยกต่างๆจะเขียนในแนวดิ่งและแนวระนาบเท่านั้น สำหรับส่วนประกอบของอุปกรณ์ก็นำมาเขียนเฉพาะในส่วนที่ใช้ในวงจรควบคุม
เท่านั้น
          แบบวงจรกำลัง

 














สำหรับแบบวงจรชนิดนี้ เป็นการนำเอามาเฉพาะส่วนของวงจรกำลังเท่านั้นในส่วนของคอนแทคโอเวอร์โหลดก็จะเขียนเฉพาะในส่วนของวงจรกำลังเท่านั้นในส่วนของวงจรควบคุมที่ไม่เกี่ยวข้องก็จะไม่นำมาแบบวงจรประกอบการติดตั้ง


ฟังก์ชั่น   MOVE  :  MOV
คำสั่งประยุกต์ประเภทนี้เป็นคำสั่งที่ทำหน้าที่ในการนำเข้าข้อมูลย้ายเข้าไปจัดเก็บ ณ จุดที่ต้องการ การใช้คำสั่งประยุกต์ MOV ที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลทำได้โดยการช้ำสั่ง [MOV (S) (D)] โดยค่า S จะเป็นค่าของข้อมูลเชิงตัวเลขฐานใดๆ ของอุปกรณ์ต้นทาง ค่า D เป็นจุดที่เคลื่อนย้ายข้อมูลเชิงตัวเลขซึ่งเป็นอุปกรณ์ปลายทางเพื่อจะนำค่าไปใช้ในการสั่งงานอุปกรณ์ให้ทำงานตามจำนวนเชิงตัวเลขที่นำมาเก็บไว้ต่อไป

รูปตัวอย่างการทำงานคำสั่งประยุกต์ MOVE : MOV


 
 


ตัวอย่างระบบควบคุมอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม


              




วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เครื่องจักร NC


เครื่องปั้นซาลาเปา


เครื่องปั้นซาลาเปา
        เป็นเครื่องจักรที่ใช้สำหรับปั้นซาลาเปา  โดยการผลิตกับเครื่องจักรแทนการผลิตจากคน การผลิตกับเครื่องจักรทำให้มีความรวดเร็วกว่าและได้ปริมาณที่มากกว่าแรงงานคน ดังนั้น จึงทำให้เพิ่มผลผลิตมากกว่า และสามารถทำให้ไม่เสียเวลาในการผลิตอีกด้วย และทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานซึ่งการผลิตโดยเครื่องจักรทำให้ส่งผลดีหลายอย่างต่อการดำเนินงาน
       วิธีการทำงานของเครื่องทำซาลาเปาแบบที่ได้ผลออกมาดีที่สุดจะใช้เครื่องระบบสายพานหรือ Multi-Function Food Mouldingโดยผู้ใช้จะต้องผสมแป้งและเตรียมแป้งให้เป็นแผ่นที่บางพอควรแล้ววางแผ่นแป้งลงบนสายพาน เครื่องจะลำเลียงแผ่นแป้งเข้าไปและปรับความหนา ของแผ่นแป้งโดยใช้ลูกกลิ้งรีด จากนั้นแผ่นแป้งจะตกลงมาบนสายพานอีกชุดหนึ่ง โดยที่สายพานชุดนี้จะมีเครื่องฉีดใส้ฉีดลงบนแผ่นแป้งนั้น และใส้จะถูกม้วนเข้าไปอยู่ตรงกลาง โดยอุปกรณ์ม้วนแป้ง มาถึงจุดนี้เราจะได้แป้งทรงกระบอกที่มีใส้อยู่ตรงกลาง จากนั้นแป้งและใส้จะถูกลำเลียงไปยังเครื่องตัดและขึ้นจีบ เป็นอันเสร็จ

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รายชื่อสมาชิกในห้อง

อาจารย์ ธภัทร  ชัยชูโชค                     อาจารย์ผู้สอน
นางสาวสุกัญญา   มันทโร                    ฮ๊ะ
นางสาวยุวดี    โต๊ะเหล็ม                      น้ำหวาน
นางสาวเพ็ญวิสา    แก้วชูเชิด             เพ็ญ
นางสาวหัสนี    หมาดหมีน                    เต๋า
นางสาวอุไซมะห์    สาเลง                    มา
นายจักรพันธ์    พรหมเอียด                  จักร
นางสาวปิยะนุช    โพธิ์ถึง                      นุช
นางสาวโศจิรัตน์   ตุ้ยนะ                       แป้ง
นางสาววชิรญาณ์    แซ่ก๊ิอก                 ญา
นางสาวเกษศิรินทร์   ปิ่นทองพันธ์     อ้อม
นางสาวปวีนา   เคี่ยวขาว                      แนน
นางสาวสุนิสา    หนูวงษ์                       กวาง

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีการสื่อสาร



เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3  (3G หรือ Third Generation)

3G (สามจี หรือ ธรีจี) หรือ 3 rd Generation (Third Generation) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่3 ถูกพัฒนาและกำลังแทนที่ระบบโทรศัพท์ 2G ซึ่ง 3G พัฒนาบนพื้นฐานของมาตรฐาน International Mobile Telecommunications 2000, IMT-2000 ภายใต้กลุ่มของ International Telecommunication Union (ITU)
3G ได้พัฒนามาจาก GPRS และ EDGE ตอนนี้ได้มีในเมืองไทยแล้ว (ระบบ 3G มีใช้เฉพาะที่จังหวัด เชียงใหม่ และ กทม.) โดยขณะนี้ มีแค่ AIS  Dtac และ Ture move เท่านั้นที่ให้บริการ (Dtac ยังไม่เปิดโดยทั่วไป)
3G ได้รับการพัฒนาบนมาตรฐาน HSPA ด้วยคลื่นความถี่ 900 MHz มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่และสมบูรณ์แบบขึ้น จะทำให้โทรศัพท์มีคุณภาพของสัญญาณที่ชัดเจนและมีคุณสมบัติการใช้งาน ที่หลากหลายมากขึ้น และสามารถรองรับการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุด (High Speed) ถึง 7.2 Mbps คุณสมบัติหลักของ 3G คือ
- มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไปที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย
- อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant (PDA), Laptop และ PC
- 3G จะทำให้คุณสามารถใช้โทรศัพท์แบบ Video Call แบบเห็นภาพและเสียงระหว่างคู่สนทนาได้แบบสดๆ อย่างชัดเจน ทันที ไม่มีสะดุด รวมถึงเทคโนโลยีที่ทำให้ความสามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง จึงทำให้สามารถรองรับการดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลหรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ มากมาย ตามที่คุณต้องการอย่างรวดเร็วไม่ติดขัด ไม่ว่าจะเป็นเกมส์ใหม่ๆ เพลงหรือมิวสิควิดีโอยอดนิยมต่างๆ ข่าวสารและข้อมูลงานต่างๆ เพื่อความเป็นต่อทางด้านธุรกิจของคุณได้ทันที ไม่ต้องนั่งอยู่หน้าวิทยุเพื่อรอฟังเพลงหรือเพื่อชมรายการโปรด และไม่ต้องนั่งจ้องอยู่แต่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโต๊ะทำงานเพื่อรอ ข้อมูลอีกต่อไป
- 3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว “Always On”
จุดเด่นของเทคโนโลยี 3G
-ความเร็วในการเชื่อมต่อการติดต่อและการส่งข้อมูลเน้นการเชื่อมต่อแบบ wireless (ไร้สาย) ด้วยความเร็วสูง
-เพิ่มประสิทธิภาพในส่วนของการรับส่งข้อมูลจากเดิมให้เร็วขึ้น เน้นการติดต่ออย่างสมบูรณ์แบบอย่างการ call conference, ประชุมทางไกล,การดาวน์โหลดภาพ เสียง clip Video เพลง ภาพยนตร์ หรือ Application ต่างๆ รวมถึงการติดต่อธนาคารทางโทรศัพท์ การโอนเงิน เช็คยอดเงิน ซื้อขายของ หาพิกัด ตรวจสอบเส้นทาง ซึ่งจะทําให้ชีวิตสะดวกสบายยิ่งขึ้น
-การติดต่อเชื่อมโยงต่างๆแบบ interactive และหัวใจหลักอย่างการเป็นระบบ Always on ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อกับระบบอยู่ตลอดเวลา ทําให้ไม่พลาดการติดต่อ
-มีความคล่องตัวในการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายข้อมูลที่อยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานการเชื่อมต่อต่าง ๆ สอดรับกับมาตรฐานของอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตทุกประการ
-ก่อให้เกิดการเปิดกว้างในรูปแบบของความร่วมมือกับพันธมิตรจำนวนมาก มีความคล่องตัวในการบันทึก จัดเก็บ และบริหารจัดการข้อมูลประเภทสื่อข้อมูล (Content) ต่าง ๆ
-Video Telephony และ Video Conference ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบเห็นหน้ากัน โดยเครือข่าย 3G จะทำการถ่ายทอดสดทั้งภาพและเสียงระหว่างคู่สนทนาโดยไม่เกิดความหน่วงหรือล่าช้าของ ข้อมูล
มาตรฐานหลัก
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G เพื่อเป็นการเพิ่มความคล่องตัวในการเปิดให้บริการ Non-voice อย่างเต็มรูปแบบ พร้อม ทั้งยังคงรักษาคุณภาพในการให้บริการ Voice ด้วยระดับคุณภาพที่ดีกว่าหรือทัดเทียมในยุค 2G จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ขึ้นโดยมีมาตรฐานสำคัญอยู่ 2 ประเภทคือ
- มาตรฐาน UMTS (Universal Mobile Telecommunications Service) เป็นมาตรฐานที่ ออกแบบมาสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นำไปพัฒนาจากยุค 2G ไปสู่ ยุค 3G อย่างเต็มตัวโดยเทคโนโลยีหลักที่มีการยอมรับการใช้งานทั่วโลกคือ W-CDMA (Wideband Code Division Multiple Access)
- มาตรฐาน cdma2000 เป็นการพัฒนาเครือข่าย CDMA ให้รองรับการสื่อสารในยุค 3G รับผิดชอบการพัฒนาเทคโนโลยีหลักคือ cdma2000-3xRTT ที่ศักยภาพเทียบเท่า มาตรฐาน W-CDMA





วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติส่วนตัว


ประวัติส่วนตัว

นางสาวมาซีเต๊าะ หมิดเส็น

ชื่อเล่น  เต๊าะ

วันเกิด  7  มกราคม  2533 

ที่อยู่  36/3 ม.2 ต.นาทวี อ.นาทวี จ.สงขลา 90160

เบอร์โทร  088-4434402

สีที่ชอบ  ฟ้า  ขาว

อาหารที่ชอบ  ต้มยำกุ้ง  แกงส้ม

งานอดิเรก  ดูหนัง   ฟังเพลง

ความสามารถ   ไม่มี

คติประจำใจ  ถ้าคิดจะทำอะไรแล้วจะต้องทำให้สำเสร็จ

ประวัติการศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

สาขาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

รหัสนักศึกษา 5557051091